ความแตกต่างระหว่าง Personnel
Management กับ Human Resource Management กล่าวคือ
การบริหารงานบุคคล (Personnel
Management) เป็นกระบวนการบริหารบุคคลที่อยู่ใน
องค์กร
ซึ่งเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคนที่ดีที่สุดในตลาดแรงงานด้วยวิธีการต่างๆ
เข้ามาสู่องค์กร แล้วใช้คน
ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จนกระทั่งคนนั้นพ้นออกไปจากองค์กร ซึ่งเมื่อคนออกไปจากองค์กรแล้ว
มีการให้ Compensation Bonus เงินสะสม บำเหน็จบำนาญ ก็ถือว่าเป็นอันจบสิ้นกระบวนการ
ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จนกระทั่งคนนั้นพ้นออกไปจากองค์กร ซึ่งเมื่อคนออกไปจากองค์กรแล้ว
มีการให้ Compensation Bonus เงินสะสม บำเหน็จบำนาญ ก็ถือว่าเป็นอันจบสิ้นกระบวนการ
ประสิทธิภาพของคนทำงานจะต้องมี
- กำลังขวัญ (Moral) เช่น การทำงานอย่างมีความสุข ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ความปลอดภัย
ในการทำงาน เป็นต้น
ในการทำงาน เป็นต้น
- แรงจูงใจ (Motivation) เช่น การให้ค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น ทำมากได้มาก ทำดีมีโอกาสก้าวหน้า
การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource
Management) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน
การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของประชากร เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รัฐต้องดูแลรักษา ใช้งาน และให้ประโยชน์แก่ทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย คือ ก่อนเข้าทำงานและหลังพ้นจากงาน
เป็นภารกิจของรัฐนั่นเอง
การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของประชากร เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รัฐต้องดูแลรักษา ใช้งาน และให้ประโยชน์แก่ทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย คือ ก่อนเข้าทำงานและหลังพ้นจากงาน
เป็นภารกิจของรัฐนั่นเอง
HRM มองการบริหารงานบุคคลในแนวลึก หมายความว่า HRM
ไม่ได้เริ่มสร้างหรือเปลี่ยนนิสัยคนเมื่อเข้ามาอยู่ในองค์กร
แต่จะเริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องดูแลตั้งแต่ในสถาบันครอบครัวตั้งแต่เกิด
โดยทำการบริหารคนตั้งแต่ตอนแรกที่เขายังไม่ได้เป็นบุคลากร
เป็นเพียงแค่ทรัพยากรบุคคล กำลังคน เป็นมนุษย์ที่มีค่า ซึ่งหวังว่า
วันหนึ่งเขาจะเป็นพนักงานขององค์กรธุรกิจ
วันหนึ่งเขาจะเป็นพนักงานขององค์กรธุรกิจ
แนวคิดในแนวกว้างของ
HRM
สิ่งที่เน้นมากที่สุดคือ การดำเนินหน้าที่ต่างๆ (เหมือนกับ PM)
จำเป็นต้องพิจารณาภาวะแวดล้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ
(การแข่งขันในตลาดโลก) สังคม (โครงสร้างประชากร) กฎหมายที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
นอกจากนี้ HRM ยังเน้นกลยุทธ์ของการบริหาร
ในแต่ละหน้าที่ (Function) ว่าจะต้องปรับให้สอดคล้องซึ่งกันและกันกับสภาวะแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
- เมื่อมีการปรับลดขนาดขององค์กรลง (Downsizing) กลยุทธ์ของ HRM ควรมุ่งเน้น
ในแต่ละหน้าที่ (Function) ว่าจะต้องปรับให้สอดคล้องซึ่งกันและกันกับสภาวะแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
- เมื่อมีการปรับลดขนาดขององค์กรลง (Downsizing) กลยุทธ์ของ HRM ควรมุ่งเน้น
ในด้านการกำจัดคนให้ออกไปจากองค์กร
(Decruitment)
และการฝึกอบรมและการพัฒนา (Training and Development) เพราะกลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงานที่เหลืออยู่
และสามารถทำงานแทนพนักงานที่ถูก Layoffs ได้
(เทคนิคการจัดการที่เรียกว่า Learning Organization คือ องค์กรแห่งการเรียนรู้)
- การฝึกอบรม (Training) และการพัฒนา (Development) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของ HRM
ในภาวะวิกฤติ ซึ่งจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การแข่งขันต่างๆ เป็นต้น
ในภาวะวิกฤติ ซึ่งจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การแข่งขันต่างๆ เป็นต้น
- การบริหารค่าตอบแทน (Compensation) ต้องคำนึงว่าทำอย่างไรที่จะประหยัดต้นทุนได้
โดยที่กำลังขวัญของพนักงานไม่เสีย
โดยที่กำลังขวัญของพนักงานไม่เสีย
- การประเมินผลงาน (Performance
Appraisal) เน้นการประเมินผลงานตามผลงานจริงๆ
แล้วจ่ายค่าจ้างตามผลงานนั้นๆ หรือการจ่ายค่าจ้างแบบ Pay for Performance มิใช่จ่ายแบบ Pay for Position
แล้วจ่ายค่าจ้างตามผลงานนั้นๆ หรือการจ่ายค่าจ้างแบบ Pay for Performance มิใช่จ่ายแบบ Pay for Position
ทุกๆ
องค์กรเอาตัวรอดด้วยการลดขนาดขององค์กร (Downsizing) โดยการ Layoffs
คนจำนวนมาก ทำให้คน
ที่เหลืออยู่ต้องทำงานมากขึ้น และสามารถทำงานแทนคนอื่นได้ ซึ่งการลดขนาดขององค์กรก่อให้เกิด
ที่เหลืออยู่ต้องทำงานมากขึ้น และสามารถทำงานแทนคนอื่นได้ ซึ่งการลดขนาดขององค์กรก่อให้เกิด
- Job Enlargement
เป็นการเพิ่มงานในระดับแนวนอน (Horizontal) เช่น
เมื่อก่อนเคยทำงานเพียง 1, 2, 3
หน้าที่ แต่ตอนนี้เพิ่มเป็น 4, 5, 6
หน้าที่ เป็นต้น
- Job Enrichment เป็นการเพิ่มงานในแนวดิ่ง (Vertical) หรือเป็นการเพิ่มงานจากข้างบนลงมาข้างล่าง
หมายความว่า เมื่อมีการลดขนาดขององค์กร หัวหน้างานอาจจะหายไปประมาณ 2 - 3 ระดับ
โดยเฉพาะในระดับกลางๆ พวก First Line และพวก Middle จะถูกลดหายไป งานนั้นจึงตกมาที่ตัวคนงานข้างล่าง
ซึ่งเมื่อก่อนคอยทำตามคำสั่งอย่างเดียว แต่เดี๋ยวนี้ต้องคิด ต้องวางแผนการทำงาน
ปฏิบัติงานเอง และประเมินผลเอง ทำให้ภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งการเพิ่มงานในแนวดิ่งนั้นเป็นงานชนิดเดียวกัน แต่เพิ่มคุณค่าตรงที่ต้องวางแผนและประเมินผลเอง
สาเหตุที่องค์กรหันมาใช้
Human
Resource Management
เพราะแนวคิดที่พยายามบริหารงานบุคคลเพื่อให้คนที่อยู่ในองค์กรเป็นคนที่มีคุณภาพ
และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงาน
ที่มีประสิทธิภาพนั้น องค์กรไม่ต้องการคนที่ทำงานเก่งอย่างเดียว แต่ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบ
มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความซื่อสัตย์ มีความจงรักภักดีต่อองค์กร เป็นผู้นำที่สามารถตัดสินใจได้ และ
เป็นคนที่มีพฤติกรรมที่สามารถจะเข้ารวมกลุ่มกับเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดีเข้ามาทำงานในองค์กร
ที่มีประสิทธิภาพนั้น องค์กรไม่ต้องการคนที่ทำงานเก่งอย่างเดียว แต่ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบ
มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความซื่อสัตย์ มีความจงรักภักดีต่อองค์กร เป็นผู้นำที่สามารถตัดสินใจได้ และ
เป็นคนที่มีพฤติกรรมที่สามารถจะเข้ารวมกลุ่มกับเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดีเข้ามาทำงานในองค์กร
จะเห็นได้ว่า
HRM
เน้นอย่างมากในเรื่องของกลยุทธ์ ในขณะที่ PM ไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก
กลยุทธ์
ขององค์กรสมัยใหม่ เช่น
ขององค์กรสมัยใหม่ เช่น
- TQM (Total Quality
Management)
เน้นเรื่องของการให้บริการได้อย่างทันท่วงที และถูกต้องตรงตามความต้องการของลูกค้า
ซึ่งเทคนิคนี้นิยมให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
- Empowerment เป็นการมอบอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจให้ลูกน้อง
- Downsizing เป็นการลดขนาดขององค์กร
ซึ่งทำให้เกิด Job Enrichment และ Job Enlargement
- Learning Organization เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
คือ พยายามทำให้คนมีประสิทธิภาพสามารถทำงานแทนกันได้
- Pay for Performance การจ่ายค่าตอบแทนต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินผลงาน
-
Green Marketing (การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม) เป็นการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่ใช้กลยุทธ์การตลาดซึ่งติดต่อสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
EmoticonEmoticon