วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

แหล่งของการสรรหาบุคลากร (Source of Recruitment) (ต่อ)

แหล่งของการสรรหาบุคลากร (Source of Recruitment) (ต่อ)
โดยทั่วไปแหล่งการสรรพาบุคลากรมีอยู่ 2 แหล่ง
การสรรหาจากภายในองค์กร

การสรรหาจากภายนอกองค์กร
การสรรหาจากแหล่งภายนอกองค์กร (External Organization)
            การสรรหาจากแหล่งภายนอกสามารถพิจารณาได้จากแหล่งต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของความต้องการในการจ้างและผลการวิเคราะห์แหล่งต่าง ๆ แหล่งภายนอกนั้นประกอบด้วย
1. สำนักงานจัดหางานของรัฐ (Public Employment Services)
1.1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (..)
1.2 กองการจัดหางานของกรมแรงงาน แระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ข้อดี ของสำนักจัดหางานของรัฐ คือ
1. เป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะเป็นของรัฐ
2. นายจ้างและผู้สมัครจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ข้อเสียของสำนักจัดหางานของรัฐ คือ
1.ล่าช้าไม่ทันการเพราะจะต้องผ่านขั้นตอนตามระเบียบราชการทั่วไป ถ้าเป็นเรื่องความต้องการ
แรงงานที่เร่งด่วนก็อาจไม่ทันการ

2. สำนักจัดหางานเอกชน (Private Employment Agencies)
ตัวแทนหรือนายหน้าจัดหางานเอกชน ก็คือ สำนักจัดหางานต่าง ๆ ที่มีใบอนุญาตประกอบ
กิจการจัดหางาน ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมแรงงาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เราจะเห็นจากหน้าหนังสือพิมพ์

3. หน่วยจัดหางานของสถาบันการศึกษา (High School, Trade and Vocational Schools,
Colleges, Professional Schools and Universities)
โรงเรียนและสถาบันเป็นแหล่งที่สำคัญในการสรรหาบุคลากร ประเภทที่มีความรู้ความสามารถพิเศษ โดยเฉพาะสถาบันที่มีการสอนวิชาเฉพาะบางแขนง ในปัจจุบันนี้สถาบันต่าง ๆมักจะจัดสถานที่สำ หรับอำ นวยความสะดวกในการคัดเลือกนักศึกษา บริษัทใหญ่ ๆ จะส่งคณะกรรมการคัดเลือกมาทำการสอบสัมภาษณ์ หรือทดสอบนักเรียน นักศึกษาที่จะจบการศึกษา บางกรณีบริษัทอาจติดต่อของจองตัวผู้กำลังเรียน ซึ่งมีผลการเรียนดีเด่น นอกจากนี้ในกรณีที่บริษัทต้องการคนงานและไม่สามารถติดต่อกับคนงานโดยตรงได้ ก็อาจขอให้สถานศึกษาเป็นคนกลางติดต่อให้ ในแทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีหน่วยจัดหางาน ที่สังกัดอยู่ในกองกิจการนิสิตนักศึกษาหรือหน่วยจัดหางานที่ตั้งขึ้น เพื่อเป็นตัวกลางหาแหล่งงานให้นิสิต นักศึกษา ทั้งในระหว่างภาคฤดูร้อนและเมื่อสำเร็จการศึกษา ในบางมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นมานานทางหน่วยจัดหางานจะมีการติดต่อสัมพันธ์อย่างดีกับบริษัท องค์กร และหน่วยงานของรัฐบาลหลายแห่ง เมื่อหน่วยงานเหล่านี้มีตำแหน่งว่างก็จะแจ้งมายังหน่วยจัดหางานของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งก็จะพิมพ์เป็นจุลสารแจ้งข่าวตำแหน่งว่างเหล่านี้แจกไปยังคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ซึ่งก็จะติดไว้ที่บอร์ดให้นักศึกษาที่สนใจทราบ
4. จากผู้มาสมัครงานด้วยตัวเอง (Personal Application) หรือที่เรียกว่า Walk in
โดยผู้สนใจหางานทำมาสมัครเองที่หน่วยงาน องค์กรหลายแห่งใช้วิธีรับสมัครไว้ล่วงหน้า ทำการคัดเลือกจากใบสมัครและเก็บรายชื่อไว้ในบัญชี เพื่อรอการคัดเลือกอีกครั้งหนึ่งเมื่อมีตำแหน่งว่างและบัญชีนี้ต้องแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ เพราะถ้าเก็บไว้นานเกินไปคนที่มาสมัครงานไว้อาจจะได้งานจากที่อื่นไปก่อนแล้วก็ได้

5. สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล หรือสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ
สมาคมดังกล่าว ได้แก่ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association) สมาคมจะมีเอกสารหรือวารสารแจกเกี่ยวกับตำแหน่งว่างอื่น ๆ และมักจะให้ความร่วมมือบอกตำแหน่งว่างกับผู้สนใจสอบถาม และบางครั้งก็ช่วยลงเผยแพร่คุณสมบัติของผู้สมัครไว้ด้วยหน่วยงานนี้ก็เช่นเดียวกับหน่วยจัดหางานอื่น ๆ คือทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางส่งข่าวสารจากผู้ว่าจ้างมายังผู้สมัครงาน และจากผู้สมัครไปสู่ผู้ที่สนใจงาน ซึ่ง ก็เป็นแหล่งที่ผู้ต้องการรับสมัครงานใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อได้อีกทางหนึ่ง

6. ประกาศรับสมัคร
วิธีการนี้องค์กรสามารถสรรหาบุคลากรโดยประกาศผ่านทางสื่อสารมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือทัศน์ หรือปิดประกาศตามแหล่งต่าง ๆ เพื่อดึงดูดบุคคลที่มีความเหมาะสมกับ ตำแหน่งงานนั้น ๆ ให้สนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือกจากองค์กร
7. วันตลาดนัดแรงงาน (Labor Market Day)
การจัดตลาดแรงงานจะได้รับความร่วมมือจากบริษัทห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ งานดังกล่าวนี้มี จุดประสงค์เพื่อแนะนำอาชีพต่าง ๆ และพร้อมที่จะเปิดรับสมัครผู้คนต่าง ๆ ให้เข้ามาทำงานในตำแหน่งว่างต่าง ๆ ของวันเวลาที่ได้จัดขึ้นมาจริงๆ การจัดตลาดนัดแรงงานจะถูกโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆหน่วยราชการและสถานที่ที่ให้บริการเกี่ยวกับการจัดหางานทำสถานที่ที่จัดมักจะถูกกำหนดขึ้นตามเมืองใหญ่ที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก และจะมีทีมงานที่พร้อมจะให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้ที่มีความสนใจ

8. แหล่งอื่นๆ (Other Sources)
จากศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพคนพิการ หรือจากสถานฝึกอาชีพของคนบางประเภท ซึ่งมีการอบรมและฝึกหัดให้ปฏิบัติงานบางอย่าง เป็นต้น

แหล่งของการสรรหาบุคลากร (Source of Recruitment)

แหล่งของการสรรหาบุคลากร (Source of Recruitment)
โดยทั่วไปแหล่งการสรรพาบุคลากรมีอยู่ 2 แหล่ง
การสรรหาจากภายในองค์กร
การสรรหาจากภายนอกองค์กร

การสรรหาจากแหล่งภายในองค์กร
            การสรรหาจากภายในองค์กร หมายถึง การคัดเลือกจากคนในองค์กรที่มีความรู้ความสามารถโดยการสับเปลี่ยนโอนย้ายและเลื่อนตำแหน่งขึ้นมา
 นโยบายการสรรหาภายในองค์กร (Internal Organization Policies)
นโยบายการส่งเสริมบุคคลจากภายในองค์กรมีผลดีหลายประการ คือ
1. เป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดีต่อองค์กร
2. เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคคลในองค์กร
3. ช่วยกระตุ้นเร่งเร้าคนที่ดี ซึ่งต้องการความก้าวหน้าและความทะเยอทะยาน
4. เป็นการพิสูจน์ความน่าจะเป็นของการคัดเลือกที่ดี
5. เป็นการเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการสรรหาจากภายนอก
            โดยทั่วไป ในกรณีที่มีตำแหน่งว่าง อาจเกิดจากคนเก่าลาออก หรือคนเก่าได้รับการเลื่อน
ตำแหน่งสูงขึ้น หรือจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม องค์กรอาจเปิดโอกาสให้มีการเลื่อนตำแหน่งให้กับบุคคลที่อยู่ภายในองค์กรก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อบรรจุแทนในตำแหน่งที่ว่างนั้น ซึ่งอาจใช้วิธีการประเมินผลงานที่ผ่านมา หรือการประกาศรับสมัครเพื่อทำการทดสอบแข่งขัน เพราะนอกจากจะได้บุคคลที่มีความสามารถแล้ว ยังจะได้บุคคลที่มีความพร้อมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม กระบวนการสรรหา และคัดเลือกบุคลากรจากภายในองค์กรนั้น จึงต้องมีการพิจารณาที่ดี เพราะอาจส่งผลเสียหายให้กับตัวของบุคลากรเอง และต่อองค์กรด้วย เนื่องจากอาจเกิดลำเอียงในการประเมินผลงานจากหัวหน้า อย่างไรก็ดีการดำเนินนโยบายเช่นนี้ ก็เป็นที่นิยมใช้กันค่อนข้างมาก เพราะเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนในองค์กร ถือเป็นการตอบแทนความจงรักภักดี ให้กับบุคลากรขององค์กร ที่ทุ่มเททำงานให้กับองค์กรมาเป็นเวลานาน แต่ในเวลาเดียวกัน การสรรหาโดยการเลื่อนตำแหน่ง หรือการโยกย้ายบุคลากรภายในนั้น ก็มีผลเสียด้วยเช่นกัน กล่าวคือ หากองค์กรมีระบบที่รองรับในเรื่องนี้ไม่ดี หรือขาดความโปร่งใสและยุติธรรม ก็อาจเกิดผลเสียตามมาได้โดยเฉพาะการยอมรับของบุคลากรแต่ละระดับซึ่งเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความขัดแย้งภายในองค์กรได้
 
วิธีการสรรหาจากแหล่งภายใน (Internal Recruiting Method)
การสรรหาภายในมีวิธีการที่สำคัญอยู่ 5 วิธีด้วยกันคือ
1. การแจ้งตำแหน่งงานว่างและการคัดเลือกด้วยตนเอง (Job Posting : Self Selection) เป็น
กระบวนการแจ้งข้อมูลให้พนักงานทราบว่ามีตำแหน่งงานใดที่เปิดรับสมัครอยู่
2. การใช้ทักษะ (Skill Inventories)
3. การใช้การอ้างอิงจากบุคคลภายใน (Referrals)
4. หัวหน้าทำหน้าที่คัดเลือกเอง

5. การจัดให้มีแผนงานพัฒนานักบริหาร (Executive Development Plan)

วิธีการสรรหา (Channels of Recruitment)

วิธีการสรรหา (Channels of Recruitment)

1. การให้ผู้สมัครมาสมัครเอง (walk in)  ซึ่งเหมาะกับสถานที่ที่มีชื่อเสียงและตั้งอยู่ในที่ผู้สมัครสามารถเข้าถึงได้ง่าย
2. การให้คนงานเดิมแนะนำเพื่อนหรือคนรู้จักที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดมาสมัคร
3. การโฆษณาผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสารวิชาชีพ วิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น
4. การแจ้งผ่านสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรในตำแหน่งที่องค์กรต้องการ
5. การแจ้งผ่านสมาคมวิชาชีพของงานที่ต้องการ เช่น สภาการพยาบาล เป็นต้น
6. การแจ้งผ่านศูนย์จัดหางาน ทั้งของรัฐและเอกชน เช่น ที่กรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานของเอกชน เป็นต้น
7. การทาบทามบุคคลที่เป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วและทำงานที่องค์กรหรือหน่วยงานอื่น ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถและประสบการณ์ตรงตามที่ต้องการ วิธีนี้เหมาะกับตำแหน่งงานในระดับสูง

8. การให้บริษัทค้นหาผู้บริหาร (Executive Search Firms) เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ค้นหาบุคคลที่มีความสามารถและประสบการณ์สูงในตำแหน่งที่ต้องการรับ ซึ่งมักเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เช่น ผู้อำนวยการองค์กร  ผู้จัดการการตลาดขององค์กร ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะค้นหาและทาบทามบุคคลดังกล่าว (headhunters) ที่ทำงานอยู่ในองค์การอื่นให้มาทำงานกับองค์การที่ต้องการ ซึ่งมักได้คนที่ความสามารถสูงและมาทำงานได้ทันที แต่ต้องเสียค่าบริการในอัตราสูง

การวางแผนในการสรรหา (Recruitment Planning)

การวางแผนในการสรรหา (Recruitment Planning)

            หลังจากที่องค์กรมีความต้องการกำลังคน และได้มีการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนแล้ว ในการที่จะสรรหาบุคคลมาแทนในตำแหน่งที่ว่าง หรือมีทดแทนอัตรากำลังคนเนื่องจากมีการขยายหน่วยงานออกไป หรือปริมาณงานเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการสรรหาบุคคล จะต้องวางแผนการสรรหาบุคคล 
            โดยมีการพิจารณาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการสรรหาที่จะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้สามารถสื่อข้อความไปถึงกลุ่มบุคคลที่บริษัทต้องการได้โดยตรงมากที่สุด 
            นอกจากการวางแผนการสรรหาแล้วยังรวมความไปถึงการพิจารณาไปถึงแหล่งที่จะไปทำการสรรหาอีกด้วยโดยทั่วไปการสรรหาบุคลากรมักถูกพิจารณาเพียงด้านเดียวเท่านั้นคือ 
            องค์กรสรรหาบุคลากรที่ต้องการ แต่ในทางปฏิบัติผู้สมัครก็จะสรรหาองค์กรที่ผู้สมัครต้องการด้วยเช่นกัน
ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวนี้ต้องอยู่ภายใต้สภาพการณ์ เวลาที่เหมาะสมและตรงกันระหว่างบริษัทและผู้สมัครด้วย

กระบวนการสรรหา คืออะไร ???

กระบวนการสรรหา คืออะไร ???

การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร เป็นหน้าที่พื้นฐานที่สำคัญของหน่วยงานที่รับผิดชอบงาน
ด้านทรัพยากรบุคคล เนื่องจากการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานเป็นงานที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงานขององค์กร ดังนั้นขั้นตอนและวิธีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรจึงต้องดำเนินการอย่างจริงจัง มีหลักเกณฑ์และยุติธรรม เพื่อให้ได้บุคลากร ที่มีความเหมาะสมกับงานที่องค์กรต้องการมากที่สุดเข้ามาร่วมงาน

การสรรหา(Recruitment)
การสรรหา(Recruitment) หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาและจูงใจผู้สมัครงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ เริ่มต้นตั้งแต่การแสวงหาคนเข้าทำงานและสิ้นสุดเมื่อบุคคลได้มาสมัครงานในองค์การ 
กระบวนการที่ควรนำมาพิจารณาในการสรรหา คือ
1. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Planning)
2. ความต้องการหรือการร้องขอของผู้จัดการ(Specific requests of managers)
3. การระบุตำแหน่งงานที่จะรับบุคลากรใหม่(Job opening identified)
4. รวบรวมสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์งาน (Job analysis information)
5. ข้อคิดเห็นของผู้จัดการ(Manager's comments) ข้อคิดเห็นของผู้จัดการจะเป็นตัวตรวจสอบให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำด้วยความรอบคอบและลึกซึ้งมากขึ้น
6. กำหนดคุณสมบัติบุคลากรตรงกับงาน(Job requirement)
7. กำหนดวิธีการสรรหา(Methods of recruitment) ผู้สรรหาจะศึกษาแนวทางและแหล่งที่จะดำเนินการสรรหาพนักงาน
8. ความพึงพอใจที่ได้ผู้สมัคร(Satisfactory pool of recruits)

การสรรหาพนักงานจัดทำขึ้นก็ต่อเมื่อ
            • มีพนักงานลาออก
            • ปริมาณงานเพิ่มขึ้น (Order เข้ามามาก)
            • ตามคำร้องขอจากสายงานการผลิต หรือสายงานหลัก
            • ต้องการขยายธุรกิจ
            • ต้องการเพิ่มยอดขาย
            • งานไม่ได้คุณภาพ (คิดว่าคนเก่าไม่เก่ง รับคนใหม่มาเพิ่ม)
            • ต้องการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ

การสรรหาจะกระทำโดยไม่มีการวางแผนการสรรหาไว้ล่วงหน้าจะดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา
หรือตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

เก้งกวางกรี๊ด!! พระเอกเล่นตลกโชว์กล้วยประจำตัว ฮาหนักภาพชัดมาก

เก้งกวางกรี๊ด!! พระเอกเล่นตลกโชว์กล้วยประจำตัว ฮาหนักภาพชัดมาก


ไม่รู้ว่าเป็นวันทำงานและเป็นการรวมตัวทำอะไรของเหล่าบรรดาพระเอกช่อง 3 ที่นำทัพความเกรียนโดย , เกรท วรินทร, เต้ย พงศกร, หลุยส์ สก็อต และ ท็อป จรณ  ถึงได้มีเรื่องฮาๆ หลุดออกมาจากกองถ่ายแบบนี้
เพราะเป็นก๊วนชายหนุ่มที่โคจรมาเจอกันเรื่องห่ามๆ จึงบังเกิดขึ้นแบบฮาหนักมาก เริ่มต้นจาก บอย ปกรณ์ ได้โพสต์ภาพกล้วยหอมประจำตัวตามคาแรกเตอร์ของแต่ละคน มีการแท็กเพื่อนให้เห็นภาพแบบชัดเจน อ่านแล้วถึงกับจั๊กกะจี้มากๆ  เรียกว่าบรรดาเก้ง กวางต่างๆ กรีดร้องกันเป็นแถวๆ 
"ผมมันพวกยอมรับความจิงฮะ #รูปของผมเน้นเรียลลิสติก #ของคุณเกรทว่ากันตามสี #คุณสก๊อตเค้าเปนคนซื่อตรง #คุณทอปก็เปนคนขี้งอล #ส่วนของคุณเต้ย.....เค้าหิว!!!!!!ก็เลยปอกเตรียมกิน #แหม่คิดไร"

แอนนี่ บรู๊คโต้ตกอับเร่ขายตัวตปท.

แอนนี่ บรู๊คโต้ตกอับเร่ขายตัวตปท.

'แอนนี่ บรู๊ค' โต้ตกอับเร่ขายตัว ตปท. อ้างไปร้องเพลง จ่อบินกลับไทย 9 ก.พ.
ชีวิตจริงที่ต้องรับชะตากรรมซิงเกิลมัม คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว สำหรับอดีตนักแสดงสาว "แอนนี่ บรู๊ค" ซึ่งล่าสุด "ต้อม รัชภร" ผู้จัดการส่วนตัว แอนนี่ บรู๊ค ได้เผยว่า ยอมทนกับชะตากรรมของแอนไม่ได้ เพราะสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไม่ได้สวยงามตามที่คิด หรือแม้กระทั่งใครบางคนมองว่าแอนขายตัวที่เมืองนอกเลี้ยง เพราะจริง ๆ แล้วแอนไปรับงานร้องเพลงที่ต่างประเทศ อาทิออสเตรเลีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และมาเก๊า สัญญา 3 เดือนต่อประเทศ ซึ่งในแต่ละวันตนต้องขึ้นร้องเพลงตั้งแต่ 21.00 - 06.00 น. ยันสว่าง เป็นภาระชีวิตที่ต้องรับผิดชอบ ต้องยอมห่าง น้องทีฆายุ ครั้งละหลายเดือน บางครั้งบางทีก็รู้สึกท้อจนร้องไห้ แต่ก็คิดได้ว่า สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้เพื่อให้ลูกได้มีชีวิตที่ดี
ขณะเดียวกัน ต้อม รัชภร ได้พูดถึงเรื่องที่มีคนคาใจ แล้วมองในแง่ลบว่า บินไปขายตัวเมืองนอกนั้น แอนยืนยันว่าไม่จริง และจริง ๆ แล้วยังมีเรื่องราวอีกมากมายอยากจะแฉให้หมดเปลือก จะได้ใส่ข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไปบ้าง และตอนนี้น้องทีฆายุก็เริ่มจะเป็นหนุ่มน้อยแล้ว ทำงานในต่างประเทศบอกเลยว่าชีวิตไม่ได้สวยหรู คือทำงานจริง ๆ ซึ่งมันคงเป็นบทพิสูจน์ในชีวิตจริง
ทั้งนี้ อีกไม่กี่วันแอนก็จะบินกลับเมืองไทยแล้ว ซึ่งกลับเมืองไทยเที่ยวนี้ต้องการให้กระจ่างในทุก ๆ เรื่อง ต้อม รัชภร และ แอนนี่ บรู๊ค ยังมีเรื่องราวอีกเยอะ เอาไว้เจอกันวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนวันวาเลนไทน์ ต้อม รัชภร จะพาแอนจะนัดเจอพี่ ๆ สื่อมวลชนตั้งโต๊ะแถลงข่าวกันเลย แอนจะแฉให้หมดเปลือกว่าเจออะไรมาบ้าง บางทีก็ทนไม่ไหว ภูเขาไฟก็ถึงจุดประทุ ตั้งโต๊ะขอมีที่ยืนในวงการในไทย เพราะที่ไหน ๆ ก็ไม่สุขใจเท่าบ้านเรา และจะได้ไม่ต้องห่างกับน้องทีฆายุด้วย ต้อม รัชภร หรือ ต้อม โมเดล ผู้จัดการส่วนตัว แอนนี่ บรู๊คกล่าวทิ้งท้าย